๑. ที่มาและความสำคัญ
การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ การบริหาร การจัดการ การศึกษา และสหวิทยาการศึกษา ครั้งที่ 3 ประจำปี ๒๕๖๔ (NCAME 2021) ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เปิดรับบทคัดย่อ (Abstracts) และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Papers) ของบทความวิชาการ (Review Articles) และบทความวิจัย (Research Articles) ในภาษาไทยที่มีเนื้อหาด้านการบริหาร การจัดการ การศึกษา และสหวิทยาการศึกษา ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “การฟื้นคืนสภาพและการสร้างใหม่: ทางออกหลักในนวัตกรรมการจัดการหลังโควิด-19” เพื่อให้นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา บุคคลทั่วไปที่สนใจ รวมไปถึงผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การจัดการ การศึกษา และสหวิทยาการศึกษาทั้งในระดับชาติ ได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ และการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการจัดงานการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ การบริหาร การจัดการ การศึกษา และสหวิทยาการศึกษา ครั้งที่ ๓ ประจำปี ๒๕๖๔ (NCAME 2021) ในหัวข้อ “การฟื้นคืนสภาพและการสร้างใหม่: ทางออกหลักในนวัตกรรมการจัดการหลังโควิด-19” เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการในการใช้ชีวิต และการเปลี่ยนแปลงในทางด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลต่อความเข้มแข็งในสังคมและมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ การประชุมนี้จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจ ด้านนวัตกรรมการจัดการ ด้านบริหารการศึกษาและศาสตร์ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การจัดการ การศึกษา และแนวทางออกหลักในนวัตกรรมการจัดการหลังโควิด-19 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสังคมไทยสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อให้นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับชาติ
๒.๒ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการและด้านการวิจัย
๒.๓ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลงานทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในระดับชาติ
๓. หัวข้อประชุม
การประชุมนี้เปิดรับบทคัดย่อและบทความวิชาการ/บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ “การฟื้นคืนสภาพและการสร้างใหม่: ทางออกหลักในนวัตกรรมการจัดการหลังโควิด-19” ในมุมมองทางสังคมศาสตร์และสหวิทยาการ โดยมีการแบ่งกลุ่มของบทความตามกลุ่มสาขาวิชา กลุ่มของผู้ส่งผลงาน และภาษาที่ใช้ ดังนี้
๓.๑ กลุ่มบทความที่มีความเกี่ยวข้องกับ “การฟื้นคืนสภาพและการสร้างใหม่: ทางออกหลักในนวัตกรรมการจัดการหลังโควิด-19” โดยเน้นสาขาวิชาดังต่อไปนี้
๓.๑.๑ รัฐประศาสนศาสตร์
๓.๑.๒ บริหารธุรกิจ
๓.๑.๓ นวัตกรรมการจัดการ
๓.๑.๔ การบริหารการศึกษา
๓.๒ กลุ่มผู้ส่งผลงาน แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
๓.๓.๑ อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการอิสระ
๓.๓.๒ นิสิต นักศึกษา
๔. ขั้นตอนการส่งบทคัดย่อและบทความฉบับเต็ม เพื่อตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (The Proceedings)
เจ้าของผลงานต้อง (๑) ส่งบทคัดย่อพร้อมชำระค่าลงทะเบียน ภายในวันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม ๒๕๖๔ (๒) ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบทคัดย่อและบทความฉบับสมบูรณ์จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภายในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และ (๓) มีการนำเสนอผลงานในที่ประชุมตามวันและเวลาที่กำหนด จึงครบคุณสมบัติที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์
บทคัดย่อของบทความวิชาการ/บทความวิจัยและบทความฉบับสมบูรณ์ของบทความวิชาการ/บทความวิจัยทุกฉบับ จะได้รับการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพทางวิชาการ (Peer Reviews) จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนี้เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมีมาตรฐานตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เจ้าของบทความที่ผ่านการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพทางวิชาการจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานและนำเสนอผลงานในงานการประชุมสัมมนาวิชาระดับชาติ ณ อาคารสิรินธร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ผลงานฉบับสมบูรณ์ของบทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกจะได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (The Proceedings) โดยเจ้าของผลงานต้องระบุกลุ่มสาขาวิชา (เช่น การบริหารการศึกษา) (ตามที่กำหนดในหัวข้อที่ ๓.๑) และประเภทบทความ (บทความวิชาการ หรือ บทความวิจัย) ในท้ายบทคัดย่อด้วย หากไม่ระบุ การกำหนดประเภทดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
บทความวิชาการ/บทความวิจัยที่เป็นงานสร้างสรรค์ของบุคลากรหรือนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) และหรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นั้น หากได้รับการเผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (The Proceedings) นี้ จะได้รับระดับคุณภาพของผลงานที่ น้ำหนักคะแนน ๐.๒๐ (ระดับชาติ)
๕. รูปแบบของบทความ
ภาษาหลักที่ใช้ คือ ภาษาไทย ตัวบทคัดย่อของบทความวิชาการ/บทความวิจัย ต้องเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเนื้อหาต้องครบถ้วนและไม่ต่างกัน ทั้งนี้ ตัวบทความวิชาการ/บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ต้องเป็นภาษาไทย ภาษาที่ใช้ในเนื้อหาในบทคัดย่อและบทความฉบับสมบูรณ์ทั้งสองนี้ต้องถูกต้องตามหลักภาษาไทยและไวยากรณ์อังกฤษ จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม MS Word ส่วนที่เป็นภาษาไทยให้ใช้รูปแบบตามที่คณะกรรมการ ฯ กำหนดโดยตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ <rcim-ncame.rmutr.ac.th> ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษให้ใช้การกำหนดรูปแบบการอ้างอิงโดย APA 6th edition 2010 (American Psychological Association) โดยตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ <www.apa.org> คณะกรรมการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาบทความที่มีรูปแบบที่ไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ข้างต้น และ/หรือมีการใช้ภาษาทั้งสองไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทยและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ผลการพิจารณาตัดสินในแต่ละขั้นตอนของคณะกรรมการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด

๗.
การส่งบทคัดย่อ/บทความฉบับสมบูรณ์ (Abstract/Full Paper Submission)
ผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอจะต้องจัดพิมพ์บทคัดย่อและบทความฉบับสมบูรณ์
พร้อมทั้งระบุสาขาวิชา (ข้อ ๓.๑) และประเภทของบทความ ให้ชัดเจน
จากนั้นให้ส่งผลงานมายังวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (ncame@rmutr.ac.th) ภายในวันและเวลาที่กำหนด โดยจะต้องแนบไฟล์ข้อมูลผลงานในรูปแบบ MS
Word และ PDF ความยาวของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
อย่างละไม่เกิน ๑๕๐ คำ และความยาวของบทความฉบับสมบูรณ์ (ภาษาไทย) ระหว่าง ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ คำ หรือ ระหว่าง ๑๐-๑๒ หน้า (ไม่รวมตาราง
ดรรชนี และบรรณานุกรม) สามารถดูตัวอย่างการจัดวางและกำหนดรูปแบบเนื้อหา
(Template) ของบทคัดย่อ และบทความฉบับสมบูรณ์ ได้ที่เว็บไซต์
<rcim-ncame.rmutr.ac.th> ขอให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ในกรณีที่เจ้าของผลงานเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี
จะต้องมีเจ้าของผลงานร่วมเป็นอาจารย์ประจำรายวิชาหรืออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลงาน
ในกรณีที่ผลงานเกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์
การเผยอัตลักษณ์และการคุ้มครองปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของผลงานต้องปฏิบัติตามกรอบจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นอย่างน้อย หากผลงานได้ผ่านการประเมินจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
ขอให้แนบสำเนาใบรับรองการผ่านการประเมิน
ในกรณีมีการคัดลอก
ลอกเลียนโดยมิได้มีการอ้างอิงที่ถูกต้อง หรือขัดกับจริยธรรมทางวิชาการ (Plagiarism) ในกรณีการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง เช่น สะกดผิด ใช้คำผิดความหมาย
รวมทั้งการพิมพ์ตกบกพร่อง และในกรณีใด ๆ ที่มีข้อผิดพลาดใด ๆ ในเนื้อหา
และกระบวนการการผลิตบทความ ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของผลงาน และคณะทำงาน/กองบรรณาธิการไม่รับผิดชอบในกรณีดังกล่าว
๘.
เงื่อนไขการเข้าร่วมประชุม
เจ้าของผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมนำเสนอผลงานและส่งผลงานลงตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม
ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมงานตามที่ระบุ นำเสนอผลงานด้วยตนเอง
(ไม่สามารถใช้ตัวแทนได้) ตามวันเวลาที่กำหนด
และส่งผลงานฉบับสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนดและถูกต้องตามที่แจ้งไว้ ทั้งนี้ รายงานสืบเนื่องจากการประชุมจะอยู่ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
พร้อมเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number
(ISBN)) โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์งานประชุม
หลังงานประชุมเสร็จสิ้นและตามเวลาที่ได้ระบุก่อนหน้านี้
๙.
ข้อกำหนดและเงื่อนไขการลงทะเบียน
๙.๑ ผู้นำเสนอผลงาน/ผู้เขียนหลักบุคคลทั่วไป ในระดับชาติมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน
บทความละ ๒,๐๐๐ บาท (ต่อผู้นำเสนอ ๑ คน)
โปรดลงทะเบียนและชำระเงินเมื่อท่านส่งบทคัดย่อ/บทความฉบับสมบูรณ์
ในกรณีผู้เขียนร่วม/ผู้เข้าร่วมฟังต้องการลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียนท่านละ ๑,๐๐๐ บาท
๙.๒ ผู้นำเสนอผลงาน/ผู้เขียนหลักในฐานะอาจารย์
นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษา หรือ บุคลากรในสังกัดวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีค่าใช้จ่ายใน การลงทะเบียน บทความละ ๑,๒๐๐
บาท (ต่อผู้นำเสนอ ๑ คน) โปรดลงทะเบียนและชำระเงินเมื่อท่านส่งบทคัดย่อ/บทความฉบับสมบูรณ์ ในกรณีผู้เขียนร่วม/ผู้เข้าร่วมฟังต้องการลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียนท่านละ ๕๐๐ บาท
๙.๓ ผู้ติดตาม/ผู้เข้าร่วมที่ไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้า
(Walk-in) มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนก่อนเข้างาน ท่านละ ๓๐๐ บาท ต่อ ๑ คน ทั้งนี้ผู้ลงทะเบียนตามข้อนี้จะมีสิทธิในการเข้าร่วมงานเท่านั้น
และไม่ได้สิทธิ์ในการรับของที่ระลึกและ/หรือคูปองอาหาร
๙.๔ ค่าธรรมเนียม และค่าบริการอื่น ๆ
ในการโอนเงินต่าง ๆ ผ่านสถาบันทางการเงินทั้งในและต่างประเทศเป็นภาระของผู้โอน
คณะผู้จัดการประชุมอาจเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มหากมีข้อผิดพลาดในการชำระเงิน
· คณะกรรมการฯ
ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและข้อกำหนดอื่น ๆ
โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และจะไม่มีการคืนเงินค่าลงทะเบียนไม่ว่าในกรณีใด
ๆ
· การพิจารณาบทคัดย่อ
และ/หรือบทความฉบับสมบูรณ์จะเริ่มดำเนินการได้ต่อเมื่อเจ้าของผลงานได้มีการชำระค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
แต่ค่าลงทะเบียนดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับผลการพิจารณาผลงานที่เกิดขึ้น
· รายละเอียดการส่งบทคัดย่อ/บทความฉบับสมบูรณ์
สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์
<rcim-ncame.rmutr.ac.th>
หรือที่ Email: ncame@rmutr.ac.th
·
การชำระเงินภายในประเทศ
ทำได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลายา ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
(กองทุนวิทยาลัยบัณฑิตนวัตกรรม)” เลขที่บัญชี ๔๕๙–๐–๒๗๐๙๔–๓ แล้วส่งหลักฐานการชำระเงินมาที่
ncame@rmutr.ac.th (กรณีต้องการรายละเอียดการออกใบเสร็จรับเงินเพิ่มเติม
กรุณาแจ้งศูนย์ประสานมาที่ โทร ๐๒–๔๔๑–๖๐๖๗ หรือ Email: ncame@rmutr.ac.th หากไม่มีการแจ้งทางคณะทำงานฯ
จะไม่มีการแก้ไขใบเสร็จย้อนหลังในทุกกรณี)
· ติดต่อสอบถามที่ศูนย์ประสานงาน
โทร ๐๒–๔๔๑–๖๐๖๗ ในวันและเวลาราชการ
หมายเหตุ
๑. หลังจากลงทะเบียนแล้วเจ้าของบทความฉบับสมบูรณ์ไม่สามารถทำการถอนบทความดังกล่าวจากกระบวนการอ่านประเมินบทความ (reviewing process) ได้ หากเจ้าของบทความประสงค์จะดำเนินการดังกล่าว
อาจถูกเพิกถอนสิทธิ์ต่าง ๆ ได้
๒. เจ้าของบทความฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับการตอบรับให้ลงตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม
(The
Proceedings) แล้ว ไม่สามารถทำการถอนบทความดังกล่าวได้
๓. เจ้าของผลงานมีความรับผิดชอบในการติดตามหรือสอบถามข้อมูลด้วยตนเอง
หากได้ดำเนินการส่งผลงาน และ/หรือลงทะเบียนเพื่อนำเสนอผลงานในที่ประชุมแล้ว แต่ไม่ได้รับแจ้งหรือติดต่อกลับภายในระยะเวลาอันสมควร
ต้องติดต่อสอบถามกับคณะทำงานการจัดประชุมนี้โดยเร็วที่สุด ตามช่องทางที่ได้แจ้งไว้
๔. หากเกิดการสูญหายหรือความผิดพลาดประการใดก็ตามในกระบวนการส่งบทคัดย่อและ/หรือบทความฉบับสมบูรณ์เพื่อเข้าร่วมพิจารณา
ถือว่าเจ้าของผลงานเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียว
๕. คณะกรรมการฯ คณะทำงาน และ/หรือกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการการเปิดรับบทคัดย่อ
และ/หรือบทความฉบับสมบูรณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
และขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนผลงานส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเพื่อความเหมาะสมถูกต้อง
รวมถึงสงวนสิทธิ์ในการไม่รับพิจารณาผลงานใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกติกาที่ได้แจ้งไว้
หรือมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนพร้อมที่จะตีพิมพ์ และให้ถือว่าผลการพิจารณา/ตัดสินเป็นที่สิ้นสุด
อนึ่ง เจ้าของผลงานจะต้องรับผิดชอบในเรื่องจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
การเผยอัตลักษณ์และการคุ้มครองปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ลิขสิทธิ ความถูกต้องในเนื้อหา
และข้อผิดพลาดใดๆที่อาจเกิดขึ้น คณะทำงาน/กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการรับผิดชอบไม่ว่าในกรณีใด
ๆ
๖. บทความวิจัย/วิชาการ ที่มีคุณภาพสูง มีสิทธิ์ได้รับเลือกจากผู้ประเมินบทความให้เป็นบทความวิจัย/วิชาการดีเด่น
หรือชมเชยได้
๗. ผลการพิจารณาตัดสินบทคัดย่อและ/หรือบทความฉบับเต็ม
รวมทั้งรางวัลดีเด่นหรือรางวัลชมเชยถือเป็นที่สิ้นสุด